หัวข้อ   “1 เดือนหลังเหตุการณ์ความรุนแรงกับแผนปรองดองแห่งชาติ”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจาก 27 จังหวัด
ทั่วทุกภาคของประเทศ พบว่า ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการฟื้นฟูประเทศหลังผ่าน
เหตุการณ์ความรุนแรงมาแล้ว 1 เดือนได้คะแนนเฉลี่ยรวม 4.28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจด้าน
การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุด แต่พึงพอใจด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ไม่เป็นธรรม เพื่อลดเงื่อนไขความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมน้อยที่สุด

                 เมื่อถามความเห็นต่อแผนปรองดองแห่งชาติที่นายกฯ อภิสิทธิ์ แถลงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า
ร้อยละ 35.3 เห็นด้วยกับแผนดังกล่าว ขณะที่ร้อยละ 24.1 ไม่เห็นด้วย และภายหลังการประกาศแผนปรองดองแล้วมีเพียง
ร้อยละ 18.4 ที่ระบุว่ามีคะแนนนิยมต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.6 ระบุว่ามีคะแนนนิยมเท่าเดิม และร้อยละ
22.9 มีคะแนนนิยมลดลง

                 สำหรับประเด็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. นั้น ร้อยละ 39.8 ระบุว่า เห็นด้วย
(โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 26.9 เห็นว่าควรนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ชุมนุมที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีก่อการร้าย ส่วนอีกร้อยละ 12.9
เห็นว่าควรนิรโทษกรรมให้ทั้งหมด) ขณะที่ร้อยละ 37.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 23.2 ไม่แน่ใจ

                 ความคิดเห็นต่อการยกเลิก พรก. ฉุกเฉินในพื้นที่ 24 จังหวัดที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ ร้อยละ 55.9
เห็นว่าพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วเห็นว่าควรยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน ในขณะที่ร้อยละ 24.9 เห็นว่า
ยังไม่ควรยกเลิก

                 ส่วนสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นสร้างความปรองดองของคนในชาติ
พบว่า อันดับแรกคือให้รัฐบาลเปิดใจรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย รองลงมาคือให้ช่วยเหลือคนจน สร้างงานสร้างรายได้
แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคม ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน หาคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับมาทำ
หน้าที่สอบสวนหาความจริงในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา และเร่งจับผู้ก่อการร้ายมาดำเนินคดี รวมถึงหาตัวคนผิด
มาลงโทษ ตามลำดับ

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันหลังผ่านเหตุการณ์ความรุนแรง
                 มา 1 เดือน

 
ร้อยละ
เห็นว่าความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
13.5
เห็นว่าความขัดแย้งเท่าเดิม
37.3
เห็นว่าความขัดแย้งลดลง
49.2
 
 
             2. ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการฟื้นฟูประเทศหลังผ่านเหตุการณ์ความรุนแรง
                 ทางการเมือง พบว่า ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยรวม 4.28 คะแนน จากคะแนน
                 เต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจด้านการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์
                 ความรุนแรงมากที่สุด แต่พึงพอใจด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม เพื่อลดเงื่อนไข
                 ความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมน้อยที่สุด ดังนี้


ความพึงพอใจการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ
คะแนนที่ได้
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ด้านการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์
ความรุนแรง
4.82
ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยว
4.30
ด้านการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในช่วงสลายการชุมนุมเพื่อ
หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
4.14
ด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม เพื่อลด
เงื่อนไขความขัดแย้งและแตกแยกในสังคม
3.86
เฉลี่ยรวม
4.28
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อแผนปรองดองของรัฐบาลที่นายกฯ อภิสิทธิ์ แถลงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน
                 ที่ผ่านมา พบว่า


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
            ( โดยให้เหตุผลว่า เป็นทางออกที่ดี ช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง
               เป็นแนวทางสันติวิธี อยากเห็นภาพความปรองดองกัน
               คนไทยจะได้กลับมารักและสามัคคีกัน ฯลฯ )
35.3
เห็นด้วยแบบมีเงื่อนไข
           ( เช่น จะต้องแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตั้งใจจริงไม่ใช่แค่สร้างภาพ
             จะต้องมีความชัดเจนเป็นรูปธรรม จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
             และจะต้องสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฯลฯ )
16.0
ไม่เห็นด้วย
           ( โดยให้เหตุผลว่า แก้ปัญหาไม่ถูกจุด รัฐบาลไม่จริงใจดีแต่
             สร้างภาพ เป็นนามธรรมมากเกินไป และทำไม่ได้จริง ฯลฯ )
24.1
ไม่แน่ใจ
           ( เพราะ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ฯลฯ )
24.6
 
 
             4. คะแนนนิยมที่มีต่อรัฐบาลหลังประกาศแผนปรองดองแห่งชาติ

 
ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
18.4
คะแนนนิยมเท่าเดิม
38.6
คะแนนนิยมลดลง
22.9
ไม่แน่ใจ/ ไม่แสดงความเห็น
20.1
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
            ( โดยเห็นว่า
                    - ควรนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ชุมนุมที่           ร้อยละ 26.9
                      ไม่เกี่ยวข้องกับคดีก่อการร้าย
                    - ควรนิรโทษกรรมให้ทั้งหมด                 ร้อยละ 12.9 )
39.8
ไม่เห็นด้วย
37.0
ไม่แน่ใจ
23.2
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าควรยกเลิก พรก. ฉุกเฉินในพื้นที่ 24 จังหวัด
                 ที่ประกาศใช้อยู่หรือไม่


 
ร้อยละ
ควรยกเลิก
55.9
ไม่ควรยกเลิก
24.9
ไม่แน่ใจ
19.2
 
 
             7. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นสร้างความปรองดองของคนในชาติ
                 (5 อันดับแรก) คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)


 
ร้อยละ
เปิดใจรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
28.0
ช่วยเหลือคนจน สร้างงานสร้างรายได้ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
และไม่เป็นธรรมในสังคม
24.9
ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน
16.6
หาคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับมาทำหน้าที่สอบสวนหาความจริง
ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา
9.5
จับผู้ก่อการร้ายมาดำเนินคดี หาตัวคนผิดมาลงโทษ
6.6
 
 
             8. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะเกิดขึ้นอีก
            ( โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา
               ความเหลื่อมล้ำในสังคม ความขัดแย้งทางความคิดและ
               อิทธิพลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ยังคงมีอยู่ )
45.9
เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก
           ( โดยให้เหตุผลว่า ทุกคนได้เห็นแล้วว่าประเทศชาติบอบช้ำ
              คงไม่มีใครอยากทำร้ายประเทศชาติอีก แกนนำกลุ่ม นปช.
              ถูกควบคุมตัวอยู่ )
10.7
ไม่แน่ใจ
43.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับแผนปรองดองแห่งชาติของรัฐบาล
เพื่อสะท้อนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม
ส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
และ จังหวัดต่างๆ ในแต่ละภาคทั่วประเทศ จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ราชบุรี
สุพรรณบุรี นครปฐม นครสวรรค์ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ขอนแก่น
นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี หนองคาย นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง และสงขลา ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,628 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.1 และเพศหญิงร้อยละ 47.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)
และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 15 - 16 มิถุนายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 มิถุนายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
848
52.1
             หญิง
780
47.9
รวม
1,628
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
370
22.7
             26 – 35 ปี
457
28.1
             36 – 45 ปี
405
24.9
             46 ปีขึ้นไป
396
24.3
รวม
1,628
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
957
58.8
             ปริญญาตรี
620
38.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
51
3.1
รวม
1,628
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
243
14.9
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
350
21.5
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
410
25.2
             รับจ้างทั่วไป
246
15.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
93
5.7
             อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
286
17.6
รวม
1,628
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776